Category Archives: ถนนประชาธิปก

ถนนประชาธิปก

ถนนประชาธิปก is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address focus keyword name in category.

ถนนประชาธิปก (Thanon Prajadhipok)

ถนนประชาธิปก (อักษรโรมันThanon Prajadhipok) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่แขวงหิรัญรูจี ผ่านทางแยกบ้านแขก (ตัดกับถนนอิสรภาพ) และเข้าพื้นที่แขวงวัดกัลยาณ์

ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านวงเวียนเล็ก (ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์และถนนสมเด็จเจ้าพระยา) หลังจากนั้นถนนจะแยกออกเป็นสามทาง ทางแรกมุ่งหน้าข้ามสะพานพระปกเกล้า เชื่อมกับถนนจักรเพชรในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร

และทางที่สองมุ่งหน้าข้ามสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เชื่อมกับถนนตรีเพชรในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และทางที่สามมุ่งวัดประยุรวงศาวาส ไปสิ้นสุดที่ใต้สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยมีแนวถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพญาไม้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน

ระยะทางจากวงเวียนใหญ่ถึงสะพานพระปกเกล้ายาวประมาณ 900 เมตร[1] และยังเป็นเส้นแบ่งระหว่างเขตธนบุรี (ฝั่งขาเข้าเมือง) กับเขตคลองสาน (ฝั่งขาออกเมือง) อีกด้วย

เอ็มเค เมทัลชีท

เขตธนบุรี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

เขตธนบุรีเดิมมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในขึ้นกับกรมนครบาล ตั้งที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ของวัดราชคฤห์ จึงเรียกอำเภอนี้ว่า อำเภอราชคฤห์ (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายมาตั้งอยู่บริเวณวัดเวฬุราชิณ) ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ได้มีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็น อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี เนื่องจากมีที่ตั้งอำเภออยู่ในเขตตำบลบางยี่เรือ

ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการยุบจังหวัดธนบุรีรวมกับจังหวัดพระนครให้มีฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ดังนั้น เพื่อรักษาคำว่า “ธนบุรี” ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงและเพื่อเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ประกอบกับอำเภอบางยี่เรือนี้เคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดธนบุรีด้วย จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอบางยี่เรือเป็น อำเภอธนบุรี ขึ้นกับนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตธนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา

ครั้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวงใหม่ในเขตธนบุรี เนื่องจากผู้บริหารกรุงเทพมหานครมีนโยบายให้แบ่งแขวงขนาดใหญ่ให้ย่อยลง เพื่อความชัดเจนในการให้บริการของสำนักงานเขต โดยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู นำมาจัดตั้งเป็นแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

มุมมองวัดกัลยาณมิตรจากแม่น้ำเจ้าพระยา

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง แยกจากพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน[2] ทำให้ปัจจุบัน เขตธนบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
วัดกัลยาณ์ Wat Kanlaya
0.785
8,942
2,762
11,391.08
หิรัญรูจี Hiran Ruchi
0.691
12,252
3,966
17,730.82
บางยี่เรือ Bang Yiruea
1.523
21,201
7,968
13,920.55
บุคคโล Bukkhalo
1.210
17,198
12,980
14,213.22
ตลาดพลู Talat Phlu
1.823
15,561
8,071
8,535.92
ดาวคะนอง Dao Khanong
1.289
17,361
11,878
13,468.58
สำเหร่ Samre
1.230
15,239
8,612
12,389.43
ทั้งหมด
8.551
107,754
56,237
12,601.33

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ทางรถยนต์[แก้]

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตธนบุรี ได้แก่

เขตธนบุรีมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 3 แห่ง ได้แก่

ทางรถไฟ[แก้]

ใช้เส้นทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย จากสถานีรถไฟมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร

ทางบีอาร์ที[แก้]

ทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน[แก้]

แหล่งน้ำ[แก้]

แม่น้ำและลำคลองสายสำคัญในพื้นที่เขต ได้แก่

Call Now Button