Category Archives: ตำบลบางรักใหญ่

ตำบลบางรักใหญ่

ตำบลบางรักใหญ่ เป็นตำบลหนึ่งใน 8 ตำบลใน อำเภอบางบัวทอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี ในอดีตมีพื้นที่กว้างใหญ่มากโดยคลุมพื้นที่อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และบางส่วนของอำเภอปากเกร็ด (ปัจจุบันแยกออกไปแล้ว)

LINE: @MKMETALSHEET; 087-808-7771

เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่ปัจจุบันเมื่อความเจริญจากกรุงเทพมหานครแผ่ขยายออกมาจนถึงบางบัวทอง ทำให้มีหมู่บ้านจัดสรร บริษัทห้างร้าน สำนักงานจำนวนมาก รวมถึงหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทยอยย้ายเข้ามาอยู่ในท้องที่นี้ แต่ก็ยังคงเห็นท้องนาบางส่วนอยู่ นอกจากนี้ อำเภอบางบัวทองยังเป็นอำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดนนทบุรีด้วย (และมีความหนาแน่นมากเป็นอันดับ 3)

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบางบัวทองตั้งอยู่บนพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาของจังหวัดนนทบุรี ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 15.96 กิโลเมตร[2] มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดหลุมแก้ว (จังหวัดปทุมธานี) และอำเภอปากเกร็ด มีคลองลากค้อน คลองลำโพ และแนวระวางโฉนดที่ดินระหว่างอำเภอบางบัวทองกับอำเภอปากเกร็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปากเกร็ด มีคลองชลประทานพระอุดม-บางบัวทอง (คลองแอน) แนวกำแพงหมู่บ้านลภาวัน 10 แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์พาร์ค 3 แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์การ์เด้นบางบัวทอง คลองขุนมหาดไทย (ท่าลาย) และคลองบางบัวทองเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอบางใหญ่ มีคลองบางรักใหญ่ คลองอ้อม คลองบางเดื่อ (วัดบางเดื่อ) แนวด้านหลังหมู่บ้านเกล้ารัตนา แนวเขตหมู่บ้านร่มรื่นวิลล์ แนวเขตหมู่บ้านเกล้ารัตนา แนวรั้วหมู่บ้านกฤษดานคร 10 ลำรางบางน้อย ซอยอธิเบศร์ 1 ลำรางบางน้อย แนวด้านหลังโรงเรียนอนุบาลรัตนาธิเบศร์ แนวเส้นขนานคลองบางแพรก และคลองบางแพรกเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอไทรน้อย มีคลองตาชม คลองพระพิมล คลองลากค้อน คลองตาคล้าย และคลองลัดยายเป้าเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]

อำเภอบางบัวทองตั้งชื่อตามคลองบางบัวทองซึ่งเป็นคลองที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตรงข้ามเกาะเกร็ด มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร มีคำอธิบายที่มาของชื่อคลองอยู่สองแบบ ได้แก่

  • สันนิษฐานกันว่า เดิมพื้นที่บริเวณคลองสายนี้มีต้นบัวหลวงขึ้นอยู่จำนวนมาก ต่อมามีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามริมฝั่งคลอง บุกเบิกที่ดินเป็นไร่นาและเก็บฝักบัวดอกบัวในคลองไปขายได้เงินทองมาก จึงเรียกคลองนี้ว่า “คลองบางบัวทอง”[3]
  • มีนิทานเล่าว่า ในอดีตมีพระราชาหรือเจ้านายในวังเสด็จประพาสทางน้ำมาถึงบริเวณนี้และทรงใช้กระบวยทองตักน้ำในคลองเพื่อจะสรงพระพักตร์ แต่กระบวยทองหลุดจากพระหัตถ์จมหายไปในลำคลอง แม้จะใช้แหอวนลากหาแต่ก็หาไม่พบ ทำให้ผู้คนแถบนั้นเรียกคลองสายนี้ว่า “คลองกระบวยทอง” และเพี้ยนเสียงเป็น “คลองบางบัวทอง” ในเวลาต่อมา[4][5]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ท้องที่อำเภอบางบัวทองในครั้งแรกเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอ (หรือแขวง) ที่มีชื่อว่า “อำเภอบ้านแหลมใหญ่และเกาะศาลากุน” ต่อมาอำเภอนี้ถูกยุบเลิกแล้วแบ่งพื้นที่ด้านตะวันตกออกมาจัดตั้งเป็น อำเภอบางบัวทอง โดยตั้งที่ว่าการอำเภออยู่บริเวณริมคลองบางบัวทอง ตรงข้ามปากคลองพระราชาภิมณฑ์ (ปัจจุบันเรียกว่าคลองพระพิมล) นายอำเภอคนแรกคือ หลวงพิธีผดุงชน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบางบัวทองแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 8 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 81 หมู่บ้าน (หรือ 73 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทองซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[15]
สี แผนที่
1. โสนลอย Sano Loi
6
9,045
2. บางบัวทอง Bang Bua Thong
14
63,154
3. บางรักใหญ่ Bang Rak Yai
11
9,667
4. บางคูรัด Bang Khu Rat
10
40,504
5. ละหาร Lahan
9
25,695
6. ลำโพ Lam Pho
8
14,106
7. พิมลราช Phimon Rat
8
54,906
8. บางรักพัฒนา Bang Rak Phatthana
15
73,867

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบางบัวทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบางบัวทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสนลอยทั้งตำบล ตำบลบางบัวทอง (เฉพาะหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3) ตำบลบางรักใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 6, 7) ตำบลพิมลราช (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–3) และตำบลบางรักพัฒนา (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 5, 6)
  • เทศบาลเมืองพิมลราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิมลราช (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
  • เทศบาลเมืองบางคูรัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคูรัดทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองบางรักพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางรักพัฒนา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
  • เทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางบัวทอง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางรักใหญ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละหารทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำโพทั้งตำบล
Call Now Button