Category Archives: อำเภอพระประแดง

อำเภอพระประแดง

อำเภอพระประแดง เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตมีฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระประแดง แต่ต่อมาถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการดังเช่นปัจจุบัน

LINE: @MKMETALSHEET ; 087-808-7771

ประวัติศาสตร์[แก้]

พระประแดงเดิมตรงคลองเตย[แก้]

1
2
แผนที่โดยเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ พ.ศ. 2223

1
ตำแหน่งพระประแดง (เดิม) บริเวณท่าเรือคลองเตย
2
ตำแหน่งนิวอัมสเตอร์ดัม ปากคลองบางปลากด

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ วินิจฉัยว่า พระประแดงเป็นเมืองโบราณสมัยขอมมีชื่อเรียกว่า “พระประแดง” แต่ประเด็นนี้ก็พิสูจน์ได้ยาก[4]

ตำแหน่งที่ตั้งเมืองพระประแดงเดิม ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร[3] เหตุผลที่สนับสนุนที่ตั้งเดิมนี้ คือ มีปรากฏในจดหมายเหตุเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ ได้ลงตำแหน่งเมืองพระประแดง (Prapedain) อยู่บริเวณคุ้งแม่น้ำตรงบริเวณคลองเตยในปัจจุบัน[5] และในโคลงนิราศชุมพรแต่งโดยพระพิพิธสาลี ซึ่งเชื่อว่าท่านมีอายุอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 1 เมื่อท่านได้ล่องเรือผ่านช่องนนทรี จากนั้นถึงบางเตยซึ่งก็คือตำแหน่งคลองเตยในปัจจุบัน แล้วจึงกล่าวถึงศาลพระแผดง (ศาลพระประแดง) แล้วจึงเป็นพระโขนง[6]

โคลงนิราศพระยาตรังผลงานพระยาตรังได้แต่งขึ้นในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในโคลงบทที่ 29 ถึงช่องนนทรี แล้วกล่าวถึงศาลพระแผดงและในโคลงบทที่ 31 กล่าวถึงบางขนง (พระโขนง) และในนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ แต่งขึ้นในรัชกาลที่ 1 เมื่อท่านผ่านบริเวณบ้านบางระจ้าวหรือบางกะเจ้าในปัจจุบัน แล้วเอ่ยถึงศาลพระประแดง[7]

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองพระประแดงปรากฏครั้งแรกในพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงษ์ (จาด) พ.ศ. 2040 แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ว่า

… ขณะนั้นคลองสำโรงที่จะไปคลองศีรษะจระเข้ คลองทับนางจะไปปากน้ำ เจ้าพญาตื้น เรือใหญ่จะเดินไปมาขัดสน จึงให้ชำระขุดได้รูปเทพารักษ์ 2 องค์หล่อด้วยสัมฤทธิ จารึกองค์หนึ่งชื่อพญาแสนตา องค์หนึ่งชื่อบาทสังฆกรในที่ร่วมคลองสำรงกับคลองทับนางต่อกัน จึงให้พลีกรรมแล้วออกมาปลูกศาลเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ เมืองพระประแดง …

[8]

ปากพระประแดง[แก้]

เมืองพระประแดงในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้เลื่อนมาลงอยู่ที่บริเวณอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนจะเลื่อนลงมาเมื่อใดไม่ทราบ และเมื่อเมืองพระประแดงมาอยู่ตำแหน่งใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทำให้ในเอกสารเรียกแม่น้ำ เจ้าพระยาช่วงนี้ว่า ปากพระประแดง

จากจดหมายเหตุพระอุบาลีไปลังกาทวีปครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ. 2295 กล่าวว่า

… ลงไปถึงตึกวิลันดา ณ บางปลากด ณ วันอังคาร เดือนยี่ ขึ้น 6 ค่ำ เพลาเช้า 3 โมง แลมรติงนายกำปั่น ให้ทอดบรรทุกฝาง 6 วัน ณ วันอังคาร เดือนยี่ขึ้น 12 ค่ำ ถึงเมืองพระประแดง…

[12] จากข้อความดังกล่าว ระบุว่าเมืองพระประแดงอยู่ใต้คลองบางปลากด สอดคล้องกับพระราชสาส์นไปเมืองจีนครั้งกรุงธนบุรีที่ชี้ว่า เมืองพระประแดงเป็นเมืองสุดท้ายก่อนออกทะเลและใกล้กับแหลมฟ้าผ่า พระราชพงศาวดารธนบุรีฉบับจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งชำระในต้นรัชกาลที่ 1 กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2311 ว่า

… วันจันทร์ แรมสิบสี่ค่ำ เดือนสาม มีข้อราชการเมืองกัมพูชาธิบดีเมืองปากน้ำ พุทไธมาศบอกเข้ามา จึงทรงพระกรุณาให้พระกรมท่าไปทำค่ายปากน้ำ พระประแดง ท่าจีน แม่กลอง…

เมืองนครเขื่อนขันธ์[แก้]

จิตรกรรมฝาผนังวัดป่าเกด เป็นภาพวิถีชีวิตชาวมอญ วัดนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2
ป้อมแผลงไฟฟ้า สร้างในสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2357

เนื่องจากได้ย้ายเมืองหลวงมาที่กรุงเทพ ซึ่งลงใกล้ปากน้ำมากขึ้น ขณะเดียวกันเมืองรายทางจากปากน้ำมาถึงกรุงเทพมีเพียงเมืองเดียวคือ สมุทรปราการ ซึ่งได้สร้างความกังวลเรื่องรับศึกทางทะเล ดังนั้นสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจึงได้กราบบังคมทูลขอสร้างเมืองขึ้นที่ปากลัด เนื่องจากมีที่ตั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์ใหญ่เหมาะแก่การตั้งป้อมปืนใหญ่และสามารถควบคุมเส้นทางบริเวณปากคลองลัดโพธิ์ได้ แต่ยังไม่สำเร็จเนื่องจากเกิดศึกกับพม่าก่อน

จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ลงไปทำเมืองที่บริเวณปากลัด ตัดเอาแขวงกรุงเทพมหานครและแขวงเมืองสมุทรปราการ พระราชทานชื่อเมืองว่า นครเขื่อนขันธ์[16] ตำแหน่งของเมืองนครเขื่อนขันธ์ตั้งอยู่ระหว่างคลองลัดโพธิ์กับคลองลัดหลวง[17] จน พ.ศ. 2358 จึงให้มีการพระราชพิธีฝังอาถรรพณ์ยกเสาประตูตั้งป้อมที่ปากลัด[18]

เมื่อแรกสถาปนานครเขื่อนขันธ์โปรดเกล้าฯ ให้มอญพวกเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) มาเป็นพลประจำเมือง ในปีรุ่งขึ้นมอญจากเมาะตะมะอพยพเข้ามา 3 ทาง คือ กาญจนบุรี อุทัยธานี และตาก เข้ามาสมทบที่นครเขื่อนขันธ์[19] เมื่อแรกสถาปนาเมือง ยังไม่ปรากฏในพระไอยการนาทหารพลเรือนในกฎหมายตราสามดวงว่าเมืองแห่งนี้น่าจำสังกัดกับกรมใด แต่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ทรงมากำกับการก่อสร้าง เมื่อพระองค์ทิวงคต สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเมื่อสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ 3 และพระองค์ก็น่าจะได้กำกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ถึงเสด็จทิวงคต จากนั้นสันนิษฐานว่าหม่อมไกรสรได้กำกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ต่อเพราะเมื่อ พ.ศ. 2385 โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมไกรสรไปกำกับเลกทำอิฐสร้างเมือง[20] อีกทั้งยังมีหลักฐานว่าหม่อมไกรสรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการตั้งเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์[21] รวมถึงเรื่องที่ท่านถูกกล่าวโทษว่าทำตัวเทียมพระเจ้าอยู่หัวก็เกิดขึ้นที่นครเขื่อนขันธ์[22]

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เซอร์จอห์น เบาว์ริง ได้เข้ามาสนธิสัญญา กล่าวไว้ใน ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม เมื่อท่านผ่านบริเวณนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งท่านเรียกว่า ปากลัด และได้กล่าวถึงป้อมที่ปากลัดว่ามีป้อมอยู่ 2 ฟากแม่น้ำ ที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ มีโซ่ขวางแม่น้ำ เป็นโซ่เหล็กและเสาไม้ขนาดใหญ่มิให้เรือรบแล่นทวนขึ้นกรุงเทพได้ ป้อมมีทหารจำนวนไม่มาก นอกจากนั้นยังระบุว่า เมืองปากลัดเป็นเมืองที่ส่งฟืนเข้ามากรุงเทพและยังระบุว่าประชากรในเมืองนี้เป็นมอญ[23] ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นกับกรมกลาโหม[24] โดยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) สมุหกลาโหมมีหน้าที่ดูแลเมืองนครเขื่อนขันธ์ ขณะที่บิดา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กำกับเมืองสมุทรปราการ

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ไปขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย จากนั้นวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2437 กระทรวงนครบาลกำกับ

ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์เป็นเมืองพระประแดง[3]

ทรงคนอง แทมมารีน เรด (BLUESCOPE ZACS®)

ตำบลสำโรง เอ็มจี เยลโล่ (BLUESCOPE ZACS®)

บางหัวเสือ บางจาก กรีน (BLUESCOPE ZACS®)

บางหญ้าแพรก บานาน่า ลีฟ (BLUESCOPE ZACS®)

ตำบลบางยอ อัลไมตี้ ไวโอเล็ท (BLUESCOPE ZACS®)

ตำบลบางพึ่ง แชมพู (BLUESCOPE ZACS®)

บางน้ำผึ้ง เนเชอรัล บราวน์ (BLUESCOPE ZACS®)

ตำบลบางจาก คาสเทิล เรด (BLUESCOPE ZACS®)

ตำบลบางครุ เอชจี ไทเกอร์ เรด (BLUESCOPE ZACS®)

Call Now Button