Category Archives: ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม

ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม

ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the name in category.

ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม

ความเป็นมา : 

ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เป็นวงแหวนรอบเล็กตามแนวพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวทางไว้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นโครงข่ายถนนรองรับการขนส่งและลำเลียงสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพ ต่อเนื่องไปถึงพื้นที่อุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ เพื่อไม่ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าไปในตัวเมืองหรือทิศทางอื่น อันเป็นสาเหตุของการจราจรติดขัดโดยรอบ

การดำเนินงาน: 

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 มอบหมายให้ดำเนินการก่อสร้างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมมีลักษณะเป็นถนนต่อเนื่องเชื่อมโยงพื้นที่ย่านอุตสาหกรรมและท่าเรือคลองเตยเข้าด้วยกัน มีความยาวรวมทั้งสิ้นประมาณ 25 กิโลเมตร ความกว้าง 7 ช่องจราจรรวมช่องจราจรสำหรับรถบรรทุกหนัก งบลงทุนของโครงการรวมทั้งสิ้นประมาณ 8,739 ล้านบาท

ประโยชน์ของโครงการ :

เป็นถนนวงแหวนที่เชื่อมต่อเขตอุตสาหกรรมทางตอนใต้ของกรุงเทพมหานคร เพื่อประโยชน์ในการรองรับรถบรรทุกที่วิ่งขนถ่ายและลำเลียงสินค้าจากท่าเรือคลองเตยไปยังโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่โครงการโดยไม่ต้องใช้เส้นทางเข้าไปในตัวเมือง  เป็นโครงข่ายที่เสริมโครงข่ายถนนของกรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ และเนื่องจากมีการก่อสร้างถนนใต้ทางยกระดับ ทำให้สามารถแบ่งเบาปัญหาการจราจรในพื้นที่ที่โครงการฯ พาดผ่านได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ พื้นที่ใต้สะพานตามโครงการได้พัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่นสวยงาม ก่อให้เกิดพื้นที่สีเขียวต่อเนื่องกับพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติในเขตบางกระเจ้า ทำให้มีทัศนีย์ภาพที่งดงาม เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตอีกด้วย

ลักษณะโดยทั่วไป

สะพานภูมิพล หรือเดิมสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย และถนนกาญจนาภิเษก ลักษณะเป็นสะพานขึงขนาด 7 ช่องการจราจร ทางด้านเหนือหรือ “สะพานภูมิพล 1” เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทางด้านใต้หรือ “สะพานภูมิพล 2” เชื่อมระหว่างตำบลทรงคนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 แต่ก่อนหน้านั้นได้เปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549

ในวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอังสนาของกองทัพเรือ ทรงทำพิธีเปิดสะพานภูมิพลและประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ณ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ

โครงสร้างพื้นฐาน

สะพานภูมิพล ประกอบด้วย 2 ช่วง คือ

สะพานภูมิพล 1 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านเหนือ เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 326 เมตร เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีต และเหล็ก และความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 128 เมตร เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง ความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานประมาณ 50 เมตร เพื่อให้เรือบรรทุกหรือขนส่งสินค้าสามารถแล่นลอดได้

สะพานภูมิพล 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้ เชื่อมระหว่างตำบลทรงคนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพาน ช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 398 เมตร เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีตและเหล็ก และความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 152 เมตร เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง ความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานประมาณ 50 เมตร เพื่อให้เรือบรรทุกหรือขนส่งสินค้าจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถลอดได้เพื่อเข้าสู่ท่าเรือคลองเตย

อำเภอพระประแดง เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตมีฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระประแดง แต่ต่อมาถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการดังเช่นปัจจุบัน

ที่มาของชื่อ[แก้]

คำว่า “พระประแดง” บ้างว่ามาจากคำว่า “ประแดง” หรือ “บาแดง” แปลว่า คนเดินหมายหรือ คนนำข่าวสาร แต่เดิมเมืองพระประแดงเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น จะต้องแจ้งข่าวสารไปให้เมืองหลวง (ละโว้) ทราบโดยเร็ว[1]

ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายว่า “พระประแดง” มาจากชื่อ “พระแผดง” ซึ่งเป็นชื่อเทวรูปสำคัญที่ขุดพบสององค์ที่คลองสำโรงต่อคลองทับนางเมื่อปี พ.ศ. 2061 ซึ่งคำว่า “แผดง” มาจากคำเขมรว่า “เผฺดง” ที่ใช้เรียกเทวรูปหรือตำแหน่งยศขุนนาง โดยเชื่อว่าชื่อเมืองน่าจะเรียกตามศาลพระแผดงที่พวกขอมเคยสร้างไว้[2]

ส่วนรุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล สันนิษฐานว่า “พระประแดง” มาจากคำว่า “กมรเตง” ที่หมายถึงเทวรูปศักดิ์สิทธิ์สององค์ดังกล่าว[3]

ประวัติศาสตร์[แก้]

อำเภอพระประแดง เป็นเมืองโบราณสมัยขอมมีชื่อเรียกว่า “พระประแดง” เดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านซ้ายคืออยู่ทางฝั่งตะวันออก เดิมเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล สมัยนั้นเรียกว่า “ปากน้ำพระประแดง” โดยตำแหน่งที่ตั้งเมืองพระประแดงเดิมช่วงศตวรรษที่ 23 นั้น ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร[3] ส่วนเมืองนครเขื่อนขันธ์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น มิได้มีความเกี่ยวข้องกับเมืองพระประแดงเดิมแต่อย่างใด ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์เป็นเมืองพระประแดง[3]

ตรงนี้เป็นประวัติศาสตร์รายปี

  • พ.ศ. 2464 ตั้งจังหวัดพระประแดง
  • พ.ศ. 2475 ยุบจังหวัดพระประแดง ทำให้อำเภอพระประแดง ขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ
  • วันที่ 15 มีนาคม 2480 จัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชียงใหม่ ตำบลทรงคนอง และตำบลตลาด (ในปัจจุบันรวมกันเป็นตำบลตลาด)[4]
  • วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการได้ยุบลงเนื่องจากขณะนั้นในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอพระประแดง จึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร
  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้อำเภอพระประแดง กลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ เหมือนเดิม[5]
  • วันที่ 20 กันยายน 2505 ตั้งตำบลบางกระสอบ แยกออกจากตำบลบางน้ำผึ้ง[6]
  • วันที่ 22 สิงหาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลพระประแดง ในท้องที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางครุ ตำบลบางจาก ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ และตำบลสำโรงใต้[7]
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน 2531 ตั้งตำบลสำโรง แยกออกจากตำบลสำโรงใต้[8]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ตั้งตำบลสำโรงกลาง แยกออกจากตำบลสำโรงใต้ [9]
  • วันที่ 13 มีนาคม 2535 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลพระประแดง ใหม่ โดยให้ สุขาภิบาลพระประแดง ครอบคลุมในท้องที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางครุ และตำบลบางจาก และ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงใต้ ในท้องที่ ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลสำโรงกลาง และตำบลสำโรง[10]
  • วันที่ 24 เมษายน 2537 จัดตั้งเทศบาลตำบลลัดหลวง โดย ยกฐานะจากสุขาภิบาลพระประแดง[11]
  • วันที่ 16 มีนาคม 2540 จัดตั้งเทศบาลตำบลสำโรงใต้ โดย ยกฐานะจากสุขาภิบาลสำโรงใต้ [12]
  • วันที่ 21 กันยายน 2545 จัดตั้งเทศบาลเมืองลัดหลวง โดย ยกฐานะจากเทศบาลตำบลลัดหลวง[13]
  • วันที่ 20 สิงหาคม 2552 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลสำโรงใต้ เป็น เทศบาลเมืองสำโรงใต้ [14]
  • วันที่ 17 กันยายน 2553 เปลี่ยนชื่อเทศบาลเมืองสำโรงใต้ เป็น เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย [15]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอพระประแดงแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 15 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 67 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ตลาด (Talat) 9. บางกะเจ้า (Bang Kachao) 9 หมู่บ้าน
2. บางพึ่ง (Bang Phueng) 10. บางน้ำผึ้ง (Bang Namphueng) 11 หมู่บ้าน
3. บางจาก (Bang Chak) 11. บางกระสอบ (Bang Krasop) 11 หมู่บ้าน
4. บางครุ (Bang Khru) 12. บางกอบัว (Bang Ko Bua) 13 หมู่บ้าน
5. บางหญ้าแพรก (Bang Ya Phraek) 13. ทรงคนอง (Song Khanong) 13 หมู่บ้าน
6. บางหัวเสือ (Bang Hua Suea) 14. สำโรง (Samrong) 10 หมู่บ้าน
7. สำโรงใต้ (Samrong Tai) 15. สำโรงกลาง (Samrong Klang) 10 หมู่บ้าน
8. บางยอ (Bang Yo)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

อำเภอพระประแดงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองพระประแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองลัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางจาก และตำบลบางครุทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลสำโรง และตำบลสำโรงกลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางยอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกะเจ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำผึ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระสอบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระสอบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางกอบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกอบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรงคนองทั้งตำบล

การคมนาคม[แก้]

อำเภอพระประแดงมีถนนสายหลัก ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 แห่ง

สำหรับการคมนาคมในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ แพขนานยนต์ และ เรือโดยสารข้ามฟาก ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เภตรา และ บริษัท นาวาสมุทร จำกัด เรือโดยสารข้ามฟาก และ เรือหางยาวบริเวณวัดบางน้ำผึ้งนอก (ฝั่งตรงข้ามกับวัดบางนานอก เขตบางนา กรุงเทพมหานคร) เรือหางยาวบริเวณปลายถนนเพชรหึงษ์ (ฝั่งตรงข้ามกับท่าเรือกรุงเทพ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร)

Call Now Button